วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คดีเขาพระวิหาร 

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยพีบีเอส@MFAThai  
            ศาลโลกยืนตามคำพิพากษาคดีเขาพระวิหารปีั 2505 ให้กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร ส่วนเขตแดนให้ไปตกลงกันเอง 2 ประเทศโดยมี UNESCO ดูแล ขณะที่ทูตวีรชัย ชี้ กัมพูชาไม่ได้ในสิ่งที่ร้องขอต่อศาล            เมื่อเวลา 16.00 น. วันนี้ (11 พฤศจิกายน 2556) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์คณะตุลาการ ศาลโลก ได้ออกนั่งบนบัลลังก์เพื่ออ่านคำพิพากษาคดีเขาพระวิหารแล้ว โดยคณะผู้พิพากษาเริ่มต้นด้วยการกล่าวแสดงความเสียใจต่อการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ของไทย 
            ซึ่งหลังจากนั้น ประธานศาลโลก ได้เริ่มต้นอ่านคำพิพากษาคดีที่กัมพูชาได้ยื่นร้องขอให้ศาลโลกตีความคดีดังกล่าวในปี 2554 ตามธรรมนูญศาลโลก ข้อ 60 เรื่องข้อพิพาทในพื้นที่ใกล้บริเวณปราสาทพระวิหาร โดยประธานศาลโลก ระบุว่า ศาลโลกมีมติรับคำร้องขอของกัมพูชาที่จะตีความคำพิพากษาปี 2505 ตามรัฐธรรมนูญศาลโลก ข้อ 60 โดยให้พิจารณาตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมา ประกอบกับพยานหลักฐานของแต่ละฝ่าย ซึ่งทำให้ศาลโลก ไม่อาจตีความเกินคำพิพากษาปี 2505 ได้             และเมื่อย้อนกลับไปดูคำตัดสินปี 2505 พบว่า กรณีนี้เป็นประเด็นเขตอำนาจอธิปไตยมากกว่าการกำหนดเขตแดน โดยที่ศาลโลกมีอำนาจรับพิจารณาเฉพาะข้อที่เป็นเหตุที่ไม่ใช่บทปฏิบัติการ และไม่ได้มีแนบในแผนที่ในคำพิพากษาปี 2505 ประกอบกับการนำเหตุการณ์ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เดินทางเยือนปราสาทพระวิหาร โดยมีทางการฝรั่งเศสให้การต้อนรับ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นการยอมรับดินแดนทางอ้อม อีกทั้ง การที่คู่ความทั้งสองได้ยอมรับแผนที่ภาคผนวก 1 ทำให้แผนที่ภาคผนวก 1 ถูกบรรจุในสนธิสัญญา สำหรับการที่ขอตีความครั้งนี้ กัมพูชาระบุว่า ขอบเขตพื้นที่พิพาทเล็กมาก ขณะที่ศาลโลกเห็นพ้องว่าพื้นที่พิพาทนี้ก็เล็กมากเช่นกัน             อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาปี 2505 ศาลไม่มีหน้าที่ปักปันเขตแดน เนื่องจากเห็นว่า เป็นเรื่องการกำหนดอธิปไตยมากกว่ากำหนดดินแดน ดังนั้น ศาลโลกจึงเห็นว่า สมควรให้ไทยและกัมพูชาดำเนินการหารือกันเอง เพื่อร่วมรักษามรดกโลกแห่งนี้ให้คงไว้            ทั้งนี้ หลังจากศาลโลกได้อ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น จากนั้น ในเวลา 17.35 น. นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ได้แถลงข่าวว่า ทั้งสองฝ่ายรู้สึกพอใจกับคำพิพากษาของศาล ซึ่งหลังจากนี้จะไปหารือกับกัมพูชาในคณะกรรมาธิการร่วมฯ ต่อไป พร้อมกับให้ นายวีระชัย พลาศัย ในฐานะหัวหน้าทีมทนายความของฝ่ายไทยได้ชี้แจงต่อ 
            โดย นายวีระชัย พลาศัย ทูตไทยที่เป็นตัวแทนไปสู้คดีเขาพระวิหาร ได้กล่าวว่า ศาลได้ตัดสินว่ามีอำนาจพิจารณาตีความตามคำร้องของกัมพูชา อย่างไรก็ตาม กัมพูชาไม่ได้รับในสิ่งที่มาร้องขอต่อศาล คือพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งพื้นที่ภูมะเขือ กัมพูชาไม่ได้ เพราะศาลไม่ได้ตัดสินเรื่องเขตแดน แต่ได้เน้นว่าเป็นพื้นที่เล็กมาก ๆ ซึ่งขณะนี้กำลังคำนวณอยู่ ส่วนพื้นที่ 1 ต่อ 2 แสนตารางกิโลเมตรที่เป็นปัญหากันอยู่นั้น ศาลไม่ได้ตัดสินว่าผูกพันกับไทย ดังนั้นถือว่าเรื่องนี้มีความสำคัญมาก ๆ            นอกจากนี้ นายวีระชัย ยังระบุด้วยว่า ศาลโลกได้แนะนำให้ฝ่ายไทยและกัมพูชาร่วมกันดูแลเขาพระวิหารในฐานะที่เป็นมรดกโลก

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันแม่แห่งชาติ

ประวัติวันแม่ 12 สิงหาคม วันแม่แห่งชาติ



ประวัติวันแม่

แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป

มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความ สำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ

ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ

1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

2. จัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ

3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่

4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่


การจัดงานวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย

งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน

ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ

สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่

สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่คือ ดอกมะลิ ซึ่งมีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


พรรครัฐบาลชนะขาดการเลือกตั้งมาเลเซีย




            ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซีย ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (5 พ.ค.) ปรากฎว่า พรรคแนวร่วมรัฐบาลสามารถคว้าชัยชนะไว้ได้อีกครั้ง ทำให้ได้ครองอำนาจต่อไปอีกเป็นปีที่ 56 ติดต่อกัน
           สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 6 พ.ค. ว่า ผลการนับคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซีย ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ (5 พ.ค.) ปรากฏว่า หลังปิดหีบลงคะแนนผ่านไปประมาณ 9 ชั่วโมง และนับบัตรได้กว่า 2 ใน 3 ของทั้งหมด พรรคร่วมรัฐบาลในนาม แนวร่วมแห่งชาติ” นำโดยพรรคอัมโนของ นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัค คว้าชัยชนะได้สำเร็จ เมื่อได้ ส.ส. เข้าสู่รัฐสภาแล้วอย่างน้อย 127 ที่นั่ง ครองเสียงข้างมากจากทั้งหมดในรัฐสภา 222 ที่นั่ง สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยเอกเทศ ขณะที่แนวร่วมฝ่ายค้าน 3 พรรค นำโดยนายอันวาร์ อิบราฮิม ได้ ส.ส. แล้ว 77 ที่นั่ง
           นับเป็นชัยชนะการเลือกตั้งทั่วไป 13 ครั้งติดต่อกัน ของพรรคแนวร่วมแห่งชาติ ซึ่งผูกขาดครองอำนาจเป็นรัฐบาลมาตลอด ตั้งแต่มาเลเซียได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อปี พ.ศ. 2500 และเป็นชัยชนะที่ค่อนข้างผิดความคาดหมายก่อนหน้านี้ ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์ชี้ว่า พรรคร่วมรัฐบาลจะเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่สุดจากฝ่ายค้าน
เจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติมาเลเซีย เผยว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนราว 13 ล้านคน ตัวเลขผู้ที่ออกไปใช้สิทธิสูงถึง 80 % หรือกว่า 10 ล้านคน โดยการลงคะแนนมีขึ้นในหน่วยเลือกตั้งกว่า 8,000 หน่วยทั่วประเทศ ระหว่างเวลา 08.00 น. – 17.00 น.


พรรครัฐบาลมาเลเซียของนายกฯ Najib Razakได้รับชัยชนะใน


การเลือกตั้งวันอาทิตย์




 พรรคพันธมิตรฝ่ายรัฐบาล National Front ของนายกฯ มาเลเซีย Najib Razak ยืดเวลาการปกครองประเทศไปอีกอย่างน้อย 4 ปีเป็น 56 ปี หลังได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งัวนอาทิตย์หลังได้ที่นั่ง 112 จากทั้งหมด 222 ที่นั่งในรัฐสภามาเลเซีย ส่วนพรรคฝ่ายค้านของอดีตรองนายกฯ Anwar Ibrahim ได้ไป 57 ที่นั่งหลังจากนับคะแนนไปแล้วกว่า 2 ใน 3

รายงานระบุว่ามีชาวมาเลเซียออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งกว่า 10 ล้านคนหรือราว 80% ซึ่งเป็นสถิติใหม่